การจัดการศึกษาแผนกปฐมวัย

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๔๖
นักเรียน ๒ – ๕ ปี ที่เข้าเรียนในระดับปฐมวัยทุกคนได้รับการเตรียมความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาอย่างทั่วถึง และมี ประสิทธิภาพ เด็กผ่านการศึกษาระดับปฐมวัย ร้อยละ ๙๐ มีทักษะการเรียนรู้พัฒนาการทุกด้านของเด็กตามศักยภาพเหมาะสมกับวัย ตามพฤติกรรม และคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์อย่างเด่นชัดในด้านต่อไปนี้
– ความเป็นพลเมืองดีของสังคมในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
– ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
– การดำรงซึ่งเอกลักษณ์ที่ดีของชาติ
– การมีวินัย ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดทนและรับผิดชอบ
– ความสามารถในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
– การรู้จักอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
– การมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ
– การมีทักษะและกิจนิสัยที่ดีในการทำงาน
– การมีความรู้ที่ยั่งยืน รู้จักศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอย่างเป็นระบบด้วยตนเองตลอดชีวิต
– มีความสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
– การเห็นคุณค่าและภาคภูมิใจในความเป็นคนไทย

แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การใช้หลักสูตรปฐมวัย

การจัดการศึกษาสำหรับเด็กอายุ ๒ – ๕ ปี  เป็นการจัดในลักษณะของการอบรมเลี้ยงดู และการให้การศึกษาแก่เด็กทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย  อารมณ์  จิตใจ  สังคม และสติปัญญา ตามวัยและความสามารถของแต่ละบุคคล      เพื่อเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต  และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กอายุ ๒–๕ ปี  จะไม่เป็นรายวิชา  แต่จัดในรูปของกิจกรรมบูรณาการผ่านการมาเล่น

เพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์ตรงเกิดการเรียนรู้ ได้พัฒนาทั้งร่ายกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา กิจกรรมที่จะนำมาจัดในแต่ละวันจึงต้องให้ครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้คือ
๑. การพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อใหญ่ การเคลื่อนไหวและความคล่องแคล่วในการใช้อวัยวะต่างๆให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระกลางแจ้ง เล่นเครื่องเล่นสนาม เคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะดนตรี ฯลฯ
๒. การพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเล็ก การประสานงานสัมพันธ์ระหว่างมือและตา ให้เด็กได้เล่นเครื่องเล่นสัมผัส เล่มเกมต่อภาพ ฝึกช่วยตนเองในการแต่งกาย หยิบจับ ช้อน – ส้อม ใช้อุปกรณ์ศิลปะ เช่น ร้อยลูกปัด พับสี สีเทียน กรรไกร พู่กัน ดินเหนียว
๓. การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ได้ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก และเห็นความสวยงามของสิ่งต่างๆรอบตัว โดยใช้ศิลปะเป็นสื่อใช้การ เคลื่อนไหวและจังหวะตามจิตนาการให้ประดิษฐ์สิ่งต่างๆอย่างอิสระตามความคิด เพื่อส่งเสริมให้เด็กแต่ละคนได้ พัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการเร็วช้าต่างกัน และสามารถพัฒนาไป ตามจุดมุ่งหมายได้ ถ้าเด็กได้รับประสบการณ์เสริมสร้างอย่างเพียงพอและเหมาะสม สำหรับวิธีการ ประเมินที่เหมาะสมและควรใช้กับเด็กอายุ ๒ – ๖ ปี ได้แก่ การสังเกต การสนทนา การสัมภาษณ์ การรวบรวมผลงานที่แสดงออกถึงการทำงานอย่างเต็มความสามารถในพัฒนาการ แต่ละด้านของเด็กเป็นรายบุคคล ทั้งนี้อาจมีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็ก โดยการจัดทำเป็นแฟ้มสะสมผลงาน สมุดรายงานพฤติกรรม , บัตรตรวจสุขภาพ , แบบฝึกทักษะการจัดประสบการณ์ และการใช้ภาษาของเด็ก

การจัดการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช  ๒๕๔๖

ช่วงอายุ  อายุ ๒  ๖  ปี

 

 

สาระการเรียนรู้

ประสบการณ์สำคัญ

สาระที่ควรเรียนรู้

*    ด้านร่างกาย

*    ด้านอารมณ์และจิตใจ

*    ด้านสังคม 

*    ด้านสติปัญญา                                                          

*   เรื่องราวเกี่ยวกับเด็ก

*   เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก

*   ธรรมชาติรอบตัว

*   สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก                               

การจัดห้องเรียน ๒ ระดับ ระดับ ๑ , ระดับ ๒ ระดับ ๓ ได้จัดกลุ่มเด็ก ดังนี้
– กลุ่มเด็กที่มีอายุ ๒.๖ – ๒.๗ ปี ห้องเรียนที่ ๑-๑
– กลุ่มเด็กที่มีอายุ ๒.๘ – ๓.๒ ปี ห้องเรียนที่ ๑-๒
– กลุ่มเด็กที่มีอายุ ๒.๘ – ๓.๒ ปี ห้องเรียนที่ ๑-๓
– กลุ่มเด็กที่มีอายุ ๒.๘ – ๓.๒ ปี ห้องเรียนที่ ๒-๑
– กลุ่มเด็กที่มีอายุ ๓.๓ –    ๔ ปี ห้องเรียนที่ ๒-๒
ในสถานรับเลี้ยงเด็กปฐมวัย พีระยา นาวิน แต่ละช่วงชั้นกำหนดให้มีสัดส่วนการจัดสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนการจัดกิจกรรมประจำวัน ได้จัดกิจกรรมประจำวันไว้หลายรูปแบบ เป็นการช่วยให้ครูและเด็กทราบว่าแต่ละวันจะทำกิจกรรมอะไร เมื่อใด และอย่างไร การจัดกิจกรรมมีหลักการจัดดังนี้
๑. กำหนดการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยของเด็กในแต่ละวัน และยืดหยุ่นได้ตามความต้องการและสนใจของเด็ก เช่น
เด็กอายุ ๒ ปี มีความสนใจช่วงสั้นประมาณ ๕ นาที
เด็กอายุ ๓ ปี มีความสนใจช่วงสั้นประมาณ ๘ นาที
เด็กอายุ ๔ ปี มีความสนใจช่วงสั้นประมาณ ๑๒ นาที
เด็กอายุ ๕ -๖ ปี มีความสนใจช่วงสั้นประมาณ ๑๕ นาที
๒. ขอบข่ายของกิจกรรมประจำวันที่นำมาจัดในแต่ละวันครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
๒.๑ การพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ จัดกิจกรรมโดยให้เด็กได้เล่นอิสระกลางแจ้ง เล่นเครื่องเล่นสนาม เคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะดนตรี
๒.๒ การพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก จัดกิจกรรมโดยให้เด็กได้เล่นเครื่องเล่นสัมผัส เล่นเกมตัดต่อภาพ ฝึกช่วยเหลือตนเองในการแต่งกาย หยิบจับช้อน – ส้อมใช้อุปกรณ์ศิลปะเช่น สีเทียน พู่กัน ดินเหนียว ฯลฯ
๒.๓ การพัฒนาอารมณ์ จิตใจ และปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม โดยจัดกิจกรรมต่างๆ ผ่านการเล่นให้
เด็กได้มีโอกาสตัดสินใจ มีความเชื่อมั่น กล้าแสดงออก ซื่อสัตย์ประหยัด เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน ตลอดเวลาที่โอกาสเอื้ออำนวย
๒.๔ การพัฒนาสังคมนิสัย จัดให้เด็กได้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันอย่างสม่ำเสมอ เช่น รับประทาน อาหาร พักผ่อนนอนหลับ ขับถ่าย ทำความสะอาดร่างกาย เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่น เก็บของเข้าที่เมื่อเล่น หรือทำงานเสร็จ ฯลฯ
๒.๕ การพัฒนาความคิด จัดกิจกรรมให้เด็กได้สนทนา อภิปรายแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นเชิญ วิทยากรมาพูดคุยกับเด็ก ให้เด็กได้เล่นเกมการศึกษาที่เหมาะสมกับวัย รู้จัก แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันในการทำกิจกรรม ทั้งที่เป็นรายบุคคล และเป็นกลุ่ม
๒.๖ การพัฒนาภาษา จัดกิจกรรมทางภาษาให้มีความหลากหลาย มุ่งปลูกฝังให้เด็กรักการ อ่าน และถ่ายทอดความรู้สึก ความนึกคิด ความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่างๆ ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงการจัดกิจกรรมทางภาษาที่เหมาะสมกับเด็กเป็นสำคัญ
๒.๗ การส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ จัดกิจกรรมให้เด็กได้ถ่ายทอด อารมณ์ความรู้สึก และเห็นความสวยงามของสิ่งต่างๆรอบตัว โดยใช้กิจกรรมศิลปะ และดนตรีเป็นสื่อ การเล่นบทบาทสมมุติในมุมเล่นต่างๆ เล่นน้ำ เล่นทรายเล่นก่อสร้างฯลฯ

©2022 Progressive Network Consult Co.,Ltd